GO Blog | EF ประเทศไทย
ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการเดินทาง ภาษา และวัฒนธรรมโดย EF Education First
Menuรับโบรชัวร์ฟรี

คำถามที่นักเรียนที่กำลังไปเรียนต่อต่างประเทศครั้งแรกทุกคนสงสัย

คำถามที่นักเรียนที่กำลังไปเรียนต่อต่างประเทศครั้งแรกทุกคนสงสัย

เย้! คุณมาถึงจุดหมายแล้ว เราหวังว่าทุกอย่างเป็นไปได้สวย และบ้านใหม่ที่ไกลจากบ้านเดิมนั้นดีเวอร์อย่างที่จินตนาการไว้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำถามคาใจอยู่อีกนิดหน่อย: อย่าง จะไปโรงเรียนวันแรกยังไงดี ถ้าเจ็ทแลคจะทำไง พ่อแม่มาเยี่ยมได้ไหม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะโฟกัสกับจุดสำคัญของทริปนี้ – เช่น การขยายคลังคำศัพท์ สนุกกับเพื่อนๆ และใช้ฮาชแทก #EFMoment ให้เต็มที่ – เรารวบรวมคำถามบางข้อที่เรารู้ว่านักเรียนหลายคนสงสัยเมื่อไปเรียนต่างประเทศ แล้วก็ถามผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อต่างประเทศของเราเพื่อหาคำตอบ แล้วจัดทำ Q&A สำหรับการเรียนต่างประเทศ ลองอ่านตอน 2 ได้ เรียนรู้ว่าทำอย่างไรจะได้ประโยชน์จากทริปนี้ให้มากที่สุด

  1. จะไปโรงเรียนวันแรกอย่างไร

นี่เป็นหนึ่งในเรื่องแรกๆที่ควรถามผู้ปกครองที่โฮมสเตย์, เพื่อนร่วมห้อง หรือพนักงานในที่พัก พวกเขาบอกคุณได้ว่าต้องขึ้นรถเมล์หรือรถไฟขบวนไหน ลงรถที่ไหน และจะไปที่ตึกเรียนยังไง ถ้าหาซิมการ์ดที่นั่นไม่ได้ทันที และไม่รู้ว่าจะหาไวไฟได้ที่ไหน ให้แคปหน้าจอหรือแผนที่ แค่นี้ก็พร้อม (ไปให้ถึงที่) แล้ว สำหรับวันแรกในการไปโรงเรียน เราแนะนำว่าควรเผื่อเวลาให้พอ – ไปครั้งแรกอาจจะใช้เวลามากกว่าปรกติ ถ้ามีโอกาส ทำไมไม่ลองไปดูก่อน ถ้ามีเวลาก่อนเริ่มเรียนก็ลองไปโรงเรียนเพื่อลองเส้นทางและฝึกเดินทางดู

  1. ทำไงดีถ้าไม่เข้าใจอะไรเลย

ขึ้นอยู่กับระดับภาษาของคุณ อาจจะใช้เวลาปรับตัวให้ชินกับการฟังแต่ภาษาต่างประเทศทั้งวัน – แต่มันจะช่วยฝึก การมีดิกชันนารีอยู่กับมืออาจช่วยในช่วงแรกๆ ครอบครัวโฮสและเจ้าหน้าที่ที่โรงเรียนนั้นชินกับการมีชาวต่างชาติที่มีระดับภาษาต่างๆกันไปอยู่รอบตัว ฉะนั้นพวกเขาจะช่วยพูดให้ช้าลง และใช้คำศัพท์ง่ายๆถ้าจำเป็น

  1. ต่ออินเตอร์เน็ตยังไง

โรงเรียนทุกแห่งมีไวไฟฟรี และจะได้รหัสล็อคอินในวันแรก นอกโรงเรียน ในที่พักต้องถามเอาจากครอบครัวโฮส หรือพนักงานของที่พักเพื่อหาสัญญาณไวไฟและรหัส ครอบครัวโฮสบางที่เก็บค่าไวไฟ ฉะนั้นอย่าลืมเช็คไว้ก่อน ในหลายแห่งจะมีร้านกาแฟหรือพื้นที่สาธารณะที่มีไวไฟฟรี แค่ถามเจ้าหน้าที่หรือเพื่อนนักเรียนดูว่าจะต่ออย่างไร

  1. ติดต่อกลับที่บ้านอย่างไร

แอปและบริการต่างๆที่ใช้ในมือถือ – วอทแอป, ไลน์, สแนปแชท, สไกล์ป, อีเมล, ข้อความ, และอะไรก็แล้วแต่ – ต้องใช้กับไวไฟเท่านั้น แปลว่าใช้ได้ที่โรงเรียน หรือที่ๆมีไวไฟฟรีให้ใช้ อย่าลืมเช็คกับบริษัทสัญญาณโทรศัพท์ว่ามีโปรโมชั่นให้ใช้ต่างประเทศโดยไม่ต้องจ่ายแพงมั้ย – ถ้าไม่มีจะถูกเก็บเงินได้แพงมาก ขอแนะนำให้ตั้งค่ามือถือเป็นโหมดเครื่องบินเอาไว้ถ้าคุณใช้ได้แต่ไวไฟ จะได้ไม่ต้องถูกเก็บเงินถ้ามือถือต่อโรมมิ่งแบบอัตโนมัติ ลองคิดดูว่าจะซื้อมือถือและซิมที่ปลายทางเลยดีไหม –จะได้ซื้อการ์ดเติมเงินและควบคุมค่าใช้จ่ายของเองได้ จำไว้ว่าคุณใช้คอมพิวเตอร์ของคุณเขียนอีเมล สไกล์ด และแชทได้

  1. ถ้าไม่ชอบอาหารที่นี่ล่ะ

เราเข้าใจว่ามันแปลกที่ต้องทานอาหารที่ต่างไปจากที่คุ้นเคย แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ ใครจะรู้ คุณอาจจะได้ค้นพบเชฟกระทะเหล็กประจำถิ่นที่คุณได้ฝากท้องก็ได้ เคล็ดลับคือให้ลองทานก่อนจะบอกว่าไม่ชอบ ครอบครัวโฮสมักจะเชี่ยวชาญในการทำอาหารให้คนต่างชาติทานได้ในขณะเดียวกันก็นำเสนอรสชาติต้นตำรับด้วย ทานอาหารกับเพื่อนๆเป็นวิธีที่ดีในการค้นพบวัฒนธรรมใหม่ๆ แต่ถ้าเป็นภูมิแพ้อย่าลืมถามวัตถุดิบก่อนเสมอ ถามครูผู้สอนว่าของที่แพ้นั้นเรียกว่าอะไร จะได้ทานอย่างปลอดภัย

  1. หาเพื่อนใหม่ยังไงดี

ข้อดีของการไปเรียนต่างประเทศคือทุกคนในชั้นนั้นลงเรือลำเดียวกัน: ทุกคนพึ่งมาถึงประเทศใหม่และไม่รู้จักใครเลย ฉะนั้นเพื่อนร่วมชั้นของคุณก็คงตื่นเต้นกับการหาเพื่อนใหม่เหมือนกัน แต่การหาเพื่อนใหม่นั้นง่ายกว่าที่คิด – แค่เริ่มพูดคุยกัน ร่วมกิจกรรมด้วยกัน และเป็นตัวของตัวเองที่ตลกและใจกว้าง: ถ้ายังกังวลอยู่: เพื่อนร่วมชั้นนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่ดี – คุณใช้เวลาอยู่ด้วยกันหลายชั่วโมงทีเดียว แถมการบ้านก็เป็นวิธีสร้างสัมพันธ์ที่ดีอีกทาง (มันสนุกขึ้นเมื่อไม่ต้องทำคนเดียว)

  1. ทำอะไรได้บ้างกับเจ็ทแลก

พยายามนอนให้เป็นกิจวัตให้ได้เร็วที่สุดที่เป็นไปได้ – ถ้าคุณไปถึงในตอนบ่าย อย่าพึ่งเข้านอนเลยแต่ลองเดินสำรวจละแวกบ้านใหม่ก่อน พระอาทิตย์และอากาศบริสุทธิ์จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวได้เอง ดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารเบาๆ และอย่าไปเครียดเรื่องเจ็ทแลก – เค้าว่ากันว่าจะใช้เวลาปรับตัววันละหนึ่งชั่วโมงในไทม์โซนใหม่

  1. ถ้าทำเอกสารการเดินทางหายล่ะ

ก่อนจะออกเดินทาง อย่าลืมเก็บเอกสารสำคัญทั้งหมดในแบบอีเล็กทรอนิก – สแกนก็ได้ หรือจะถ่ายรูปไว้ในมือถือก็ได้ แล้วส่งเข้าอีเมลตัวเอง และส่งให้คนใกล้ตัวที่บ้านด้วย อย่างนี้พวกเขาจะได้ช่วยคุณได้ถ้าคุณหาเอกสารของตัวเองไม่เจอ ถ้าพาสปอร์ตหาย ติดต่อสถานทูต หรือไปหาที่ปรึกษาที่ปลายทาง พวกเขาช่วยคุณหาพาสปอร์ตใหม่ และช่วยแก้ปัญหาเรื่องวีซ่า ถ้าคุณทำตั๋วเครื่องบินหาย (ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็จะเป็นแบบดิจิตอลอยู่แล้ว) ติดต่อสำนักงานขายหรือสายการบิน

  1. ถ้าคิดถึงบ้านขึ้นมาล่ะ

คนเรารู้สึกคิดถึงบ้านได้ทุกคน บางครั้งเราก็อยากจะนอนขดตัวบนเตียง ทานของที่คุ้นเคย ของบางอย่างช่วยแก้คิดถึงบ้านได้บ้าง – เช่นการซื้อไอศรีมถ้วย ดูหนังเรื่องโปรดกับเพื่อนที่บ้านผ่านสไกล์ป แล้วก็อย่าไปหมกมุ่น: ทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้ช่วยเรื่องการคิดถึงบ้าน อย่าลืมเข้าร่วมกิจกรรม หรือออกไปสำรวจเมืองใหม่กับเพื่อนๆ

  1. เพื่อนและครอบครัวมาเยี่ยมได้มั้ย

ได้แน่นอน เพื่อนและครอบครัวของคุณมาเยี่ยมที่ต่างประเทศได้ อาจจะเข้าอยู่กับครอบครัวโฮมสเตย์หรือที่พักเดียวกันไม่ได้ แต่มีที่พักรับรองที่ปลายทางอยู่แล้ว

  1. ถ้าฉันรักที่นี่จนไม่อยากกลับบ้านล่ะ

คุณยืดเวลาทริปการเรียนต่างประเทศของคุณอีกสองสามอาทิตย์ก็ได้ หรือจะกลับมาเยี่ยมอีกครั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ได้

และตบมือดังๆให้กับผู้เชี่ยวชาญของเราที่ช่วยฉันเขียนบลอกนี้: โรมิน่า, ฟลอเร้นท์, เจนนิเฟอร์, วันจา, ฟลอเร็นซ์,และไซมอน – พวกคุณเลิศมาก!

อยากไปเรียนที่ต่างประเทศแบบสนุก ไร้กังวลแล้วล่ะสิ!เดินทางกับเราเลย!
รับจดหมายข่าวเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภาษา และวัฒนธรรมลงทะเบียน

เปิดโลกกว้างและเรียนภาษาที่ต่างประเทศ

เรียนรู้เพิ่มเติม